ฟุตบอลทีมชาติไทย เป็นตัวแทนของประเทศไทยในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศ และอยู่ภายใต้การบริหารของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยทีมมีประวัติของความสำเร็จในการแข่งขันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือชนะเลิศอาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ 4 สมัย และชนะเลิศซีเกมส์ 9 สมัย โดยทีมชาติไทยยังสามารถคว้าอันดับ 3 ในเอเชียนคัพ 1972 และเข้าร่วมการแข่งขันในโอลิมปิกฤดูร้อน 2 ครั้ง และในเอเชียนเกมส์ 4 ครั้ง โดยอันดับโลกฟีฟ่าที่ทีมชาติไทยทำอันดับได้ดีที่สุด คือ อันดับที่ 42 ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2541 ปัจจุบันทีมชาติไทยอยู่อันดับที่ 133 ของโลก จากการ
ฉายา | ช้างศึก |
---|---|
สมาคม | สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ |
สมาพันธ์ย่อย | เอเอฟเอฟ (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้) |
สมาพันธ์ | เอเอฟซี (ทวีปเอเชีย) |
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง |
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน | โชคทวี พรหมรัตน์ ใกล้รุ่ง ตรีจักรสังข์ |
กัปตัน | ธีราทร บุญมาทัน |
ติดทีมชาติสูงสุด | เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง (131) |
ทำประตูสูงสุด | เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง (70) |
สนามเหย้า | ราชมังคลากีฬาสถาน |
รหัสฟีฟ่า | THA |
อันดับฟีฟ่า | 121 (มกราคม พ.ศ. 2559) |
อันดับฟีฟ่าสูงสุด | 45 (พ.ศ. 2541) |
อันดับฟีฟ่าต่ำสุด | 165 (ตุลาคม พ.ศ. 2557) |
อันดับอีแอลโอ | 121 (พฤษภาคม พ.ศ. 2558) |
อันดับอีแอลโอสูงสุด | 62 (มกราคม พ.ศ. 2544) |
อันดับอีแอลโอต่ำสุด | 137 (เมษายน พ.ศ. 2528 |
ทีมฟุตบอลทีมชาติไทยก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2458 ในนามคณะฟุตบอลสำหรับชาติสยาม และเล่นการแข่งขันอย่างไม่เป็นทางการครั้งแรก (พบกับทีมฝ่ายยุโรป) ที่สนามราชกรีฑาสโมสร ในวันที่ 20 ธันวาคม ในปีนั้น จนวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงก่อตั้งสมาคมฟุตบอลแห่งสยามฯ โดยลงเล่นในการแข่งขันระหว่างประเทศครั้งแรกใน พ.ศ. 2473 พบกับทีมชาติอินโดจีน ซึ่งประกอบไปด้วยผู้เล่นเวียดนามใต้ และ ฝรั่งเศส เพื่อต้อนรับการเสด็จประพาสอินโดจีนของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยชื่อของทีมชาติและชื่อของสมาคมได้ถูกเปลี่ยนชื่อในปี พ.ศ. 2482 เมื่อสยามกลายเป็นประเทศไทย
สนามเหย้า
ดูบทความหลักที่: ราชมังคลากีฬาสถาน
ราชมังคลากีฬาสถาน เป็นสนามกีฬาขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ก่อสร้างแล้วเสร็จ เมื่อปี พ.ศ. 2541 สำหรับใช้ในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ปัจจุบันมีความจุทั้งสิ้น 65,000 ที่นั่ง ตั้งอยู่ที่สนามกีฬาหัวหมาก ภายในที่ทำการของการกีฬาแห่งประเทศไทย แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ซึ่งใช้เป็นสนามเหย้าของฟุตบอลทีมชาติไทย ตั้งแต่เริ่มเปิดใช้จนถึงปัจจุบัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น